วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึก   อนุทิน
สัปดาห์ที่  5    ประจำวันที่ 12 เดือนกรกฎาคม    .. 2556
เรื่อง  องค์ประกอบของภาษา
1.    Phonology  ( เสียง )
-         ระบบเสียงของภาษา
-         เสียงที่เปล่งออกมา เพื่อสื่อความหมาย
-         หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำในภาษา
2.    Semantic  ( ความหมาย )
-         ความหมายของภาษา และ คำศัพท์
-         คำศัพท์บางคำสามารถมีไหลายความหมาย
-         ความหมายเหมือนกัน แต่คำศัพท์ต่างกัน
3.    Syntax  ( ไวยากรณ์ )
-         รูปแบบไวยากรณ์
-         การเรียงรูปประโยชน์
4.    Pragmatic ( การนำไปใช้ )
-         ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์ และ กาลเทศะ

 แนวคิดนักการศึกษา
         
บันทึก   อนุทิน
สัปดาห์ที่4 ประจำวันที่ 5 เดือนกรกฎาคม    .. 2556
เรื่อง  ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยในแต่ละด้าน
                   ในคาบเรียนนี้เพื่อนๆแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอทฤษฏีที่แต่ละกลุ่มได้รับมอบหมายซึ่งแบ่งกลุ่มในห้องเรียนเป็น 8 กลุ่ม กลุ่มของข้าพเจ้าได้กลุ่มที่ 4 ได้นำเสนอสาระความรู้ในรูปแบบของการแสดง ในตอนแรกที่ได้รับมอบหมายงานอย่างแรกที่กลุ่มของข้าพเจ้าคิดเป็นลำดับแรกก็คือ  พวกเราจะนำเสนองานอย่างไรให้ออกมาน่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ  และเพื่อนได้สาระความที่พวกเราจะมอบให้ จึงได้ข้อสรุปออกมาเป็นนำเสนอในรูปแบบของ การแสดง ในการนำเสนออาจมีข้อผิดพลาดอยู่บ้าง แต่ก็ถือว่าได้รับการตอบรับที่ดีจากเพื่อนๆในห้องเรียนดูจากการที่เพื่อนๆยิ้มชอบใจ ปรบมือ หัวเราะ และ ที่สำคัญเพื่อนๆสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่กลุ่มของข้าพเจ้าได้นำเสนอ ในวันนั้นเมื่อแต่ละกลุ่มนำเสนอเสร็จสิ้นแล้วอาจารย์ท่านก็ได้มาสรุปความรู้โดยรวมของแต่ละกลุ่มและสอบถามความเข้าใจของนักศึกษาเกี่ยวกับทฤษฏีต่างๆที่เพื่อนได้นำเสนอไป












                                           บันทึก   อนุทิน      
สัปดาห์ที่  3     ประจำวันที่ 28   เดือน  มิถุนายน    .. 2556
                      ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากกิจกรรมรับน้องของมหาวิทยาลัย

                                            บันทึก   อนุทิน                             
                          สัปดาห์ที่  2     ประจำวันที่ 21   เดือน  มิถุนายน    .. 2556
           เรื่องความหมายของภาษา
     ภาษา หมายถึง การสื่อความหมาย เป็นเครื่องมือในการแสดงความคิดและความรู้สึก
ความสำคัญ
1.    เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
2.    เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
3.    เป็นเครื่องมือเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
4.    เป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ
ทักษะทางภาษา
การฟังการพูดการอ่านการเขียน

ทฤษฏีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเพียเจท์Piaget   เด็กจะต้องมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยสำคัญในพัฒนาการทางด้านภาษาและสติปัญญา
กระบวนการเรียนรู้มี  2  กระบวนการ คือ
1.     การดูดซึม  Assimilation
เด็กได้รู้และดูดซึมภาพต่างๆ จากสิ่งแวดล้อม ด้วยประสบการณ์ของตนเอง เช่น
สัตว์มีปีก  บินได้  เรียกว่า  นก
2.     การปรับความเข้าใจเดิมที่มีอยู่แล้วให้กับสิ่งแวดล้อมใหม่  Accommodation
เกิดควบคุมกับการดูดซึม โดยปรับความรู้เดิมที่มีอยู่ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ  เช่น
สัตว์มีปีก  บินได้ปากแหลมๆ  ร้องจิ๊บๆ
เราเรียกว่า  นก
เมื่อเกิดการดูดซึมและการปรับความเข้าใจ จะเกิดความสมดุล  Equilibrium.  กลายเป็นความคิดรวบยอดในสมอง
Piaget  แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญา มีความสัมพันธ์ กับการใช้ภาษา ดังนี้
1.    ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส  Sensorimoter Stage  แรกเกิด – 2 ปี
2.    ขั้นเตรียมความคิดที่มีเหตุผล  Preoperational Stage                                       2-4 ปี   แสดงสัญลักษณ์ออกโดยคิดว่า  คนอื่นคิดเหมือนตน  ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
4-7 ปี  Intuitive Period  มีความรู้สึกนึกคิดเล็กน้อย ,  เริ่มสร้างมโนทัศน์ ,  เริ่มจัดกลุ่มของสิ่งของ
3.    ขั้นการคิดแบบรูปธรรม  Concrete  Operationsl  Stage 7-11 ปี
4.    ขั้นการคิดแบบนามธรรม  Formal  Operationsl  Stage  11-15 ปี


             จากการเรียนการสอนในคาบเรียนนี้ทำให้ข้าพเจ้ามีความเข้าใจว่า  ภาษา มีความสำคัญกับเด็กๆมากเพราะถ้าเด็กได้เรียนรู้จดจำภาษาพูดหรือภาษาเขียนที่ผิดๆจะส่งผลต่อเด็กในอนาคตอย่างแน่นอน จากความรู้เดิมที่เคยเรียนมาเมื่อก่อนหน้านี้ทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจในเรื่องของพัฒนาการของเด็กมากขึ้นซึ่งภาษาก็เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการของเด็กปฐมวัยที่จะเป็นไปตามลำดับขั้นตอนของแต่ละช่วงวัย ฉะนั้นข้าพเจ้ามีความคิดเห็นเพิ่มเติมในส่วนตัวว่าทั้งครูและผู้ปกครองควรจะทำความเข้าใจในวัยของเด็กในแต่ละซ่วงวัยพร้อมทั้งการเสริมสร้างพัฒนาการของตัวเด็กและเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษาที่ถูกต้องเพื่อตัวของเด็กจะได้ซึมชับการใช้ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไปในอนาคต


         ประโยคสนุก ๆ ให้ลิ้นพันกันเล่น ผมเอามาเล่นที่ห้องที่สอนบ่อย ๆ หลาย ๆ อันก็ได้มาจากพี่ ๆ ในคณะที่มหาวิทยาลัยครับ

                                                          ระนอง ระยอง ยะลา
         
                                                  ยายกินลำใยน้ำลายยายไหล

                                                 เช้าฟากผัดฟักเย็นฟากฟักผัด

                                                 ชามเขียวคว่ำเช้าชามขาวคว่ำค่ำ

                                                หมึกหกเลอะมุ้ง มุ้งเลอะหมึกหมด

                                           ฉะเชิงเทรา เสาชิงช้า ซู่ซ่าไปฉะเชิงเทรา

                                                    ทหารถือปืนแบกปูนไปโบกตึก

บันทึก   อนุทิน
สัปดาห์ ที่ 1       ประจำวันที่ 14 เดือน  มิถุนายน    .. 2556
เรื่องการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย                          
            อาจารย์ให้ทำ My  mappingหรือแผนผังความคิดในหัวข้อเรื่อง การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย  โดยแบ่งกลุ่มกันภายในห้อง ซึ่งการทำ My  mapping.  ในครั้งนี้ข้าพเจ้าไม่ได้มาเข้าเรียน แต่ได้ศึกษา จากแผนผังความคิดที่เสร็จสมบูรณ์ของเพื่อนๆภายในกลุ่ม ทำให้เข้าใจในเนื้อหาทันกับเพื่อนๆนอกจากนั้น อาจารย์ยังบอกเกี่ยวกับการ สร้างบล็อก  เพื่อ เอาไว้เป็นเว็บที่รวบรวม สาระความรู้ และผลงานในการเรียนของแต่ละคาบเรียนอีกด้วยค่ะ